2. การปกครองของโรม

การปกครองของโรม แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

     1.สมัยสาธารณรัฐ (509-27 B.C.) เริ่มตั้งแต่ 509 ปีก่อนคริสตกาล คือโรมสามารถขจัดกษัตริย์อีทรัสกันและสถาปนาการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้น ระบอบสาธารณรัฐสิ้นสุดลงใน 27 ปีก่อนคริสตกาล

     2.สมัยจักรวรรดิ (27 B.C.- ค.ศ. 476) เริ่มตั้งแต่สมัยจักรพรรดิออกุสตุส ได้สถาปนาเป็นจักรพรรดิองค์แรกในปี 27 ปีก่อนคริสตกาล และสิ้นสุดเมื่อจักรวรรดิโรมันทางภาคตะวันออกตกถึงแก่ความพินาศใน ค.ศ. 476

สมัยสาธารณรัฐ

     อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญของชาวโรมันรับเอาการปกครองแบบสาธารณรัฐมาใช้ คือ ความบีบบังคับที่เคยได้รับครั้นเมื่ออยู่ภายใต้การปกครองพวกอีทรัสกัน ซึ่งโรมอยู่ภายใต้ระบบกษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขทางการทหาร การปกครองและศาสนา มีอำนาจสูงสุดในการตรากฎหมาย โดยบุคคลเดียวมีสิทธิ์เด็ดขาดทุกอย่าง อาจด้วยความรังเกียจในการปกครองดังกล่าว เมื่ออิสระจึงใช้ระบบสาธารณรัฐขึ้นปกครอง

     คำว่า “Republic” มาจากภาษาละติน 2 คำ res + public หมายความว่า “ประชาชน” แต่การปกครองสาธารณรัฐของโรมสมัยแรกๆ ประชาชนยังไม่มีอำนาจในการปกครองอย่างแท้จริง เพราะอำนาจยังอยู่ในมือชนชั้นสูง ต่อมาเมื่อมีการขยายอิทธิพลของโรมัน ราษฎรส่วนใหญ่จึงมีสิทธิมีเสียงในการปกครอง การปกครองแบบสาธารณรัฐจึงเริ่มตรงความหมายดังกล่าว

     โดยในสมัยสาธารณรัฐประกอบไปด้วยคน 2 กลุ่ม พวกแพททรีเซียน (patrician) ซึ่งเป็นชนชั้นสูงที่มั่งคั่งและเป็นเจ้าของที่ดิน กับ พวกพลีเบียน (Plebeian) ซึ่งเป็นราษฎรส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยคนชนชั้นกลางมีฐานะ เช่น เจ้าของที่ดิน พ่อค้า ช่างฝีมือ และเจ้าของร้านค้า ชาวนารายย่อยและแรงงาน

     พวกแพททรีเซียนและพวกพลีเบียนเป็นราษฎรโรมัน(Citizen) มีสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งและมีหน้าที่ในการเสียภาษีและเป็นทหารของสาธารณรัฐโรมัน อย่างไรก็ตามพวกพลีเบียนไม่สามารถดำรงตำแหน่งต่างๆในรัฐบาลได้

องค์การปกครองสาธารณรัฐโรมัน ประกอบไปด้วย

     1.กงสุล (Consul) เป็นประมุขของฝ่ายบริหาร มีจำนวน 2 คน ซึ่งเป็นพวกแพทรีเซียนที่มาจาการเลือกตั้งโดยสภาซีเนต มีอำนาจเท่าเทียมกัน อยู่ในตำแหน่งวาระละ 1 ปี กงสุลทั้งสองสามารถปรึกษาซึ่งกันและกันและสมารถยับยั้ง (veto) ซึ่งกันและกันได้ คำว่า “veto” ในภาษาละตินแปลว่า “I forbid you” (ข้าพเจ้าขอห้ามท่าน) ในยามสงครามหรือยามฉุกเฉินจะมีการแต่งตั้งผู้เผด็จการ (Dictator) เพียงคนเดียว เป็นผู้นำในการบริหาร อยู่ตำแหน่งได้ไม่เกิด 6 เดือน

     2.สภาซีเนต (Senate) ประกอบไปด้วยสมาชิก 300 คน โดยเลือกจากพวกแพททริเซียน และดำรงตำแหน่งตลอดชีพ มีหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาแก่กงสุล (Consul) พิจารณานโยบายต่างประเทศ เสนอกฎหมาย และอนุมัติงบประมาณการก่อสร้างและป้องกันสาธารณรัฐ

     3.สภาราษฎร (Assembly of Citizens) ประกอบไปด้วยราษฎรโรมันทั้งแพททรีเซียนและพวกพลีเบียน มีหน้าที่แต่งตั้งกงสุลและผู้บริหารอื่นๆ รับรองกฎหมายที่เสนอโดยสภาวีเนต และทำหน้าที่ตัดสินกรณีพิพาทที่สำคัญๆ

     องค์ทั้งสามทำงานอย่างคานอำนาจซึ่งกันและกัน มิให้องค์ใดมีอำนาจสูงสุด แต่เพียงฝ่ายเดียว อย่างไรก็ตาม อำนาจในการปกครองที่แท้จริงอยู่ที่สภาซีเนต สามารถยังยั้งสภามติของราษฎรควบคุมการคลัง การต่างประเทศ การประกาศสงครามและตัดสินคดี นโยบายสภาซีเนตส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของแพทรีเซียน

     การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองของโรมเริ่มขึ้นเมื่อมีความมั่งคั่งทางการค้ามีผลทำให้พวกพ่อค้า นักธุรกิจ แรงงาน เรียกร้องความเสมอภาคทางการเมืองจากพวกแพทรีเซียน การทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขตของโรมเพิ่มอำนาจการต่อรองระหว่างพวกแพททรีเซียนและพวกพลีเบียนที่ยากจน เพราะพวกนี้ไม่ยอมเป็นทหารในกองทัพและพยายามตั้งสาธารณรัฐของตนเอง นำไปสู่การต่อสู้แย่งชิงอำนาจทางการเมือง

     ในที่สุด พวกพรีเบียนมีสภาของตนเองชื่อวา “สภาเผ่าพันธุ์”(Assembly of Tribes) หรือสภาประชาชน มีหน้าที่เลือกตัวแทน 2 คน เข้าไปในสภาซีเนตเพื่อรักษาผลประโยชน์ของพวกตน ในปี 451 ก่อนคริสตกาล มีการร่างกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก ระบุสิทธิและหน้าที่ของพวกแพทรีเรียนและพลิเบียนว่า “กฎหมายสิบสองโต๊ะ” (Law of Twelve table) เนื่องจากจารึกบนแผ่นสำริด 12 แผ่น นับเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ในการต่อสู้เพื่อสิทธิทางการเมืองของพวกพลีเบียน และพื้นฐานของกฎหมายโรมันในสมัยต่อมา ทำให้พวกพลีเบียนสามารถดำรงตำแหน่งสำคัญๆได้ แต่มีพลีเบียนจำนวนไม่มากนักที่จะดำรงตำแหน่งเหล่านี้ได้ เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไม่มีเงินเดือนตอบแทน อย่างไรก็ตามนับเป็นก้าวที่สำคัญนำไปสู่สิทธิในการออกกฎหมายในสภาประชาชนในปี 287 ก่อนคริสตกาล การปกครองโรมในสมัยนี้จึงเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคนกลุ่มน้อยมาเป็นลักษณะประชาธิปไตยมากขึ้นกว่าเดิม

     การปกครองรูปแบบสาธารณรัฐของโรมมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางดินแดนของโรม กล่าวคือ มีอาณาบริเวณและประชากรอยู่ไม่มากนัก แต่เมื่อโรมขยายดินแดนเพื่อปกครอง ซึ่งผู้คนต่างชาติ ต่างภาษา ต่างขนบธรรมเนียมประเพณี กระจายในอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ จึงต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองในแบบจักรวรรดิโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสูงสุด สถาบันทางการเมืองทำหน้าที่แต่เพียงนามเท่านั้น

     ประกอบไปด้วยการปกครองแบบประชาธิปไตยของโรมมีความเสื่อมลง ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมได้ จึงเกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ประชาชนเสื่อมความนิยมในรัฐบาล หันไปสนใจพวกแม่ทัพนายกองที่มีชื่อเสียงที่นำชัยชนะมาสู่โรม การแก่งแย่งอำนาจของพวกนายทัพและความอ่อนแอของสภาซีเนตทำให้ ออกเตเวียน ซีซาร์ (Octavian Caesar) ได้ขึ้นมาเป็นผู้เผด็จการแต่เพียงผู้เดียว ในปี 27 ปีก่อนคริสตกาล

สมัยจักรวรรดิ

     เมื่ออกุสตุสขึ้นเป็นจักรพรรดิ ได้ดำเนินรอยตามจูเลียส ซีซาร์ ในการปกครองคือ รวบอำนาจมาอยู่ที่พระองค์ ระบอบสาธารณรัฐจึงค่อยๆสลายตัวมาเป็นระบอบกษัตริย์ จักรพรรดิที่ครองต่อออกุสตุสได้ส่งเสริมฟื้นฟูธรรมเนียมศาสนา มีการบูชาจักรพรรดิเยี่ยงเทพเจ้า

     ความเจริญรุ่งเรืองของโรมันระยะที่ 2 ศตวรรษแรกในช่วง 27 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 180 เรียกว่าสมัยสันติภาพโรมัน เป็นช่วงมีความสงบ ปราศจากสงครามใหญ่ และตามด้วยยุคทองของจักรวรรดิ โรมัน ระหว่าง ค.ศ.96 – ค.ศ. 180 เป็นช่วงที่จักรวรรดิปกครองเป็นอย่างดีในทุกชนชาติ ทุกภาษาติดต่อกันจนถึง 5 พระองค์ ทำให้โรมมีความเจริญในด้านต่างๆ

     จนถึง ค.ศ. 476 จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายจาการที่อานารยะชนเผ่าเยอรมันโค่นล้มจักรวรรดิโรมันและครองอิตาลีทั้งหมด แต่พวกนี้ยอมรับเอาอารยธรรมของโรมันหลายอย่าง เช่น ภาษาละติน กกหมาย และคริสต์ศาสนา ขณะเดียวกันจักรวรรดิโรมันตะวันออกมีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเบิล (Constantinople) หรือ อิสตันบูล (Istanbul) ปัจจุบันไม่ถูกรุกรานจากอานารยะ ได้ยั่งยืนต่อมาเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมกรีกแบบเฮเลนนิกติส ที่มีอิทธิพลเข้ามาแทนที่อารยธรรมโรมันจนสิ้นสุดยุคกลาง (Middle age) เมื่อพวกออตโตมันเนอร์ที่นับถืออิสลามรุกรานในตอนกลางคริสต์วรรษที่ 15

aris-1 most-cruel-leader-in-the-world-attila-the-hun

 



 อ้างอิง : http://writer.dek-d.com/maetaweejuksurit/story/viewlongc.php?id=872604&chapter=12

Leave a comment